Catty ผู้ดูแล   25 พฤศจิกายน 2020 เยี่ยมชม :  3,081    ถูกใจ :  11 กรุงเทพฯ 25 พฤศจิกายน 2020 ทวิตเตอร์ได้มีการระงับระบบการยืนยันตัวตนการเป็นบุคคลสาธารณะไว้เมื่อสามปีก่อน เนื่องจากได้รับฟีดแบ็กว่าเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าสามารถขอได้โดยไม่มีกฎเกณฑ์และสร้างความสับสนให้กับผู้คน หลังจากนั้นทวิตเตอร์ได้ลดระดับความสำคัญของระบบนี้เพื่อไปมุ่งมั่นตั้งใจกับการปกป้องความเป็นเอกภาพของบทสนทนาสาธารณะบนทวิตเตอร์ซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2020 นับตั้งแต่นั้นยังไม่มีความชัดเจนว่าใครสามารถได้รับการยืนยันตัวตนได้บ้างหรือเมื่อไหร่และทำไมผู้ใช้บัญชีนั้นถึงไม่ได้รับการยืนยันตัวตนหรือทำอย่างไรจึงจะได้รับการยืนยันตัวตนทวิตเตอร์ทราบดีว่าการสามารถแสดงออกถึงตัวตนและรู้ว่าคุณกำลังสนทนาอยู่กับใครบนทวิตเตอร์นั้นสำคัญเพียงใด ดังนั้นในวันนี้ทวิตเตอร์จึงอยากบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงแผนงานว่าทุกคนสามารถระบุตัวตนบนทวิตเตอร์ได้อย่างไรโดยเริ่มจากการยืนยืนตัวตนและขอให้สาธารณชนส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างนโยบายใหม่ในการยืนยันตัวตนกลับมาให้ทวิตเตอร์เนื่องจากการเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการบทสนทนาสาธารณะการร้องขอความคิดเห็นและฟีดแบ็กจากสาธารณชน การกำหนดนโยบายยืนยันตัวตนของทวิตเตอร์ ทวิตเตอร์กำลังวางแผนที่จะกลับมาเปิดตัวการยืนยันตัวตนรวมทั้งขั้นตอนการสมัครการยืนยันตัวตนสาธารณะแบบใหม่ในช่วงต้นปี 2564ทั้งนี้เราต้องการความช่วยเหลือจากผู้คนในการอัปเดตนโยบายการยืนยันตัวตนเสียก่อนโดยนโยบายนี้จะเป็นการวางรากฐานเพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต ด้วยการกำหนดถึงการยืนยันตัวตนว่ามีความหมายอย่างไรใครสามารถขอเครื่องหมายเพื่อยืนยันตัวตนนี้ได้บ้างและทำไมบัญชีผู้ใช้งานบางคนที่มีเครื่องหมายนี้อยู่แต่อาจจะถูกลบออกเพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าขั้นตอนการยืนยันตัวตนนั้นมีความเท่าเทียมมากขึ้นเริ่มที่การกำหนดประเภทหลักของบัญชีผู้ใช้งานซึ่งเป็นบุคคลมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจะได้รับการยืนยันตัวตนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายที่ได้เสนอไปแล้วนั้น“เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าบนทวิตเตอร์ช่วยให้ทุกคนทราบว่าบัญชีผู้ใช้งานนี้เป็นบุคคลสาธารณะที่เป็นของจริง ซึ่งการจะขอรับเครื่องหมายนี้ได้บัญชีผู้ใช้งานนั้น จะต้องมีชื่อเสียงและมีการใช้งานอยู่เป็นประจำ” บัญชีผู้ใช้งาน 6 ประเภทที่ทวิตเตอร์จะเริ่มต้นระบุการยืนยันตัวตน ได้แก่ 1. หน่วยงานรัฐบาล 2. บริษัท แบรนด์สินค้าต่างๆ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 3. สำนักข่าว 4. องค์กรหรือบุคคลในวงการบันเทิง 5. องค์กรหรือบุคคลในวงการกีฬา 6. นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และบุคคลอื่นๆ ที่เป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมถึงความหมายของเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นได้ในร่าง นโยบายที่นี่ อ่านทั้งหมด