digitalknowledge สมาชิก   6 กันยายน 2022 เยี่ยมชม :  112    ถูกใจ :  1 ท่ามกลางแสงแดดแผดเผาของเมืองไทย เชื่อว่าอุปกรณ์สามัญประจำบ้านที่ช่วยเรื่องการคลายความร้อน ซึ่งหลายครัวเรือน หลายอาคาร ไม่ว่าจะเป็นห้องคอนโดขนาดเล็ก หรืออาคารสำนักงานขององค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องมี คือ ฟิล์มกรองแสงติดอาคาร เพราะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยลดความร้อนและรังสี UV เข้ามาภายในอาคาร ซึ่งเดี๋ยวนี้มีหลายแบรนด์ หลายยี่ห้อที่น่าสนใจ เช่น ฟิล์มอาคาร Hi-Kool ก่อนที่จะเลือกฟิล์มกรองแสงติดอาคารนั้น เราลองมาดูกันว่าคุณสมบัติของฟิล์มติดอาคารที่ดี ควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนและรังสี UV ฟิล์มอาคารที่ดีควรจะระบุถึงค่าวัดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกฟิล์มอาคารที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด โดยค่าพื้นฐานที่ควรให้ความสำคัญได้แก่ ค่ากันความร้อนจากแสงแดด ค่าแสงผ่าน ค่าสะท้อนแสง ค่ากันรังสี UV เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันได้ว่า ฟิล์มอาคารยี่ห้อนั้น ๆ มีคุณสมบัติที่ช่วยทำให้ภายในอาคารเย็น ช่วยประหยัดพลังงาน ลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ แอบบอกต่อ : ฟิล์มอาคาร Hi-Kool มีคุณสมบัติที่ช่วยลดความร้อนจากแสงแดดสูงสุดถึง 80% และป้องกันอันตรายจากรังสี UV ได้มากกว่า 99% และมีค่า SC 0.24 แปลว่าฟิล์มอาคาร Hi-Kool มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์ โดยยอมให้รังสีความร้อนผ่านเข้ามาในอาคารได้ 24% ซึ่งนับอยู่ในระดับต่ำทีเดียว ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลที่เชื่อถือได้ ฟิล์มกรองแสงติดอาคารที่ดี ควรผ่านเกณฑ์การทดสอบค่าต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สถาบันชั้นนำให้การยอมรับ เช่น มาตรฐาน ASTM (American Society for Testing and Materials) หรือสมาคมวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสหรัฐอเมริกาที่กำหนดและจัดทำมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก มาตรฐาน AIMCAL (Association of Industrial Metallizers Coaters And Laminators) สมาคมการเคลือบรวมด้วยโลหะ แอบบอกต่อ : ฟิล์มอาคาร Hi-Kool, 3M, Lamina เป็นฟิล์มอาคารที่ผ่านมาตรฐานสากลเหล่านี้ มีระดับความเข้มและเฉดสีให้เลือกตามความต้องการ ฟิล์มกรองแสงติดอาคารที่ดี ควรมีระดับความเข้มให้เลือกได้หลายระดับ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน และสามารถอธิบายถึงข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภทและแต่ละระดับได้ เช่น ฟิล์มติดอาคารแบบ Residential Series มีระดับความเข้มตั้งแต่ 30-50%, 60% และ 80% ซึ่งความเข้มแต่ละระดับมีผลต่อคุณสมบัติการป้องกันความร้อน การกรองแสงด้วย จึงควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น หากติดที่ห้องนอนอาจใช้ระดับความเข้มสูงได้ แต่หากติดที่ร้านค้าซึ่งต้องโชว์ผลิตภัณฑ์อาจเลือกระดับที่สามารถมองเข้ามาจากด้านนอกได้ชัดเจน ฟิล์มติดอาคารแบบปรอท เป็นฟิล์มกรองแสงที่ฉาบสารกันร้อนด้วยสารโลหะต่าง ๆ บนเนื้อฟิล์ม ทำให้มีลักษณะมันวาวคล้ายกระจก ข้อดีคือ ให้ความเป็นส่วนตัวสูง มองจากข้างนอกเข้ามาไม่เห็น ข้อเสียคือ จะสะท้อนเข้าตาผู้อื่นได้ จนบางอาคารออกเกณฑ์ค่าการสะท้อนแสงของฟิล์มไม่ให้เกินกว่าที่กำหนด และยิ่งนานวันไปก็จะยิ่งซีดจาง ทำให้ป้องกันความร้อนได้น้อยลงเรื่อย ๆ แอบบอกต่อ : ฟิล์มอาคาร 3M, Hi-Kool, Lamina มีหลากหลายรุ่นให้เลือกทั้งระดับความเข้ม หรือแบบที่ฝังอนุภาคนาโนเซรามิกเข้าไปในเนื้อฟิล์ม เพื่อป้องกันความร้อนและแสงที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนมีหลายเฉดสีให้เลือก ทั้งเฉดเทา ดำ โทนฟ้า โทนเขียว เป็นต้น อ่านทั้งหมด