HunsaVee ผู้ดูแล   10 ตุลาคม 2019 เยี่ยมชม :  1,034    ถูกใจ :  6 9 ข้อเท็จจริงของทายาทผู้ประกอบการ (ที่ไม่มีใครเคยบอกคุณ) ในบทนี้ผู้เขียนได้รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับช่วงต่อกิจการที่ทายาทธุรกิจต้องเผชิญ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ เป็นเรื่องที่มีอยู่ตั้งแต่แรกเริ่มหากเราสามารถทำความเข้าใจและยอมรับ มันได้ตั้งแต่ต้น ก็จะปรับตัวและพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นทั้งตัวธุรกิจเองและความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาในมุมของลูก “ทำงานที่บ้านไม่ได้ เพราะทัศนคติต่างกัน” “ทะเลาะกับพ่อเรื่องงาน จนลุกลามกลายเป็นเรื่องครอบครัว” “พ่อไม่ปล่อยให้ตัดสินใจ เสนออะไรไปก็ไม่ผ่าน” ปัญหาในมุมของพ่อแม่ “ลูกไม่ยอมกลับมาช่วยงานที่บ้าน เพราะไม่อยากทำธุรกิจของครอบครัว” “กลับมาก็เอาแต่จะปรับปรุงโน่นนี่ แต่งานหลักไม่ยอมทำ” “ลูกมีประสบการณ์น้อย แต่มั่นใจในตัวเองสูง จนคุยกันไม่รู้เรื่อง” แม้เรื่องเหล่านี้จะเป็นปัญหาโลกแตกของครอบครัวที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แต่กลับกลายเป็นปัญหาที่พูดกับใครไม่ได้ จะไปเที่ยวป่าวประกาศว่า ทะเลาะกับพ่อเรื่องนั้น ขัดแย้งกับแม่เรื่องนี้ แค่คิดก็รู้สึกว่าเป็นลูกที่แย่มาก เป็นผู้บริหารที่ไม่เห็นแก่ภาพลักษณ์ของบริษัทเอาเสียเลย ถ้าถามว่า ทำไมถึงอยากเขียนความจริงเหล่านี้ให้ทุกคนได้อ่านกัน คำตอบจากใจจริงก็คือ ตอนที่ผู้เขียนเริ่มเข้ามาทำงาน หากมีคนมาบอกเรื่องเหล่านี้ให้ได้เตรียมตัวเตรียมใจก่อน ก็คงจะดี 9 ข้อเท็จจริง ได้แก่ 1. ลูกเจ้าของกิจการไม่ใช่คุณหนู และความเป็นอยู่ก็ไม่ได้สบายแบบในหนัง 2. เจ้าของกิจการที่แท้จริง คือนักแก้ปัญหา 3. บริษัทคือตัวตนของผู้ก่อตั้ง 4. พ่อแม่และลูกมักคิดไม่เหมือนกัน 5. เรื่องของความเคยชิน 6. เราอยู่ในโลกธุรกิจที่บิดเบี้ยว 7. ไม่ช้าก็เร็ว งานจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของตัวคุณ 8. ความใจดี ไม่ได้มีไว้ให้คนเกรงใจ 9. ความไม่เสถียรของระบบ คือข้อจำกัดที่คาดไม่ถึง 9 ข้อสรุปจากการสัมภาษณ์ทายาทธุรกิจต่างๆ ข้อสรุปทั้ง 9 ข้อนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์และปรึกษาหารือกับเพื่อนพ้องร่วมสถานการณ์ รุ่นพี่ที่เคารพ รุ่นน้องคนเก่ง รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนๆ เจ้าของกิจการ ซึ่งหลักคิดทั้ง 9 ข้อนี้ อาจไม่ใช่คำตอบของทุกปัญหา แต่เป็นหลักที่หากสามารถเก็บไปคิดวิเคราะห์ให้เข้าใจแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการกับชีวิตของการเป็นทายาทธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม 9 ข้อสรุป ได้แก่ 1. ค้นหาตัวเองให้พบ แล้วปรับตัวให้ได้ 2. จงยอมรับการตัดสินใจของตัวเอง 3. ปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) ต่อคำว่าปัญหา 4. เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล กับเอกลักษณ์ของบริษัท 5. สื่อสารกับผู้ใหญ่ต้องมีเทคนิค 6. หาเงินให้ได้ก่อน ค่อยขอใช้เงิน 7. ลงมือทำตั้งแต่เริ่มต้น พิสูจน์ตัวเองให้ได้ก่อน ค่อยมองหา การยอมรับนับถือจากคนอื่น 8. เปิดโลกทัศน์ให้ตนเองและพ่อแม่ 9. วางตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ก่อตั้งกิจการ อ่านทั้งหมด