Catty ผู้ดูแล   1 เมษายน 2020 เยี่ยมชม :  32,899    ถูกใจ :  11 ทุกวันที่ 1 เมษษยน ของทุกปี นับว่าเป็นวันที่สำคัญและมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อระบบโครงสร้างทางสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้มีการประกาศ "เลิกทาส" พระราชกรณียกิจสำคัญของ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งทรงเริ่มดำเนินการอย่างมุ่งมั่นตั้งใจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 จนถึง 2446 รวมระยะเวลากว่า 30 ปี จึงจะทำสำเร็จ สาเหตุของการเลิกทาส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีจำนวนทาสมากกว่า 1 ใน 3 ของประเทศ ต้องการแสดงให้ชาติตะวันตกเห็นว่า สยามไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน เพื่อนนำไปใช้เป็นข้ออ้างยึดเป็นเมืองขึ้น การเหลื่อมล่ำ กดขี่กันเองอย่างไม่เป็นธรรมในสังคม ระบบทาส เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพื่อลดอิทธิพลและอำนาจของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะมีอำนาจมากกเกินไปเกรงว่าจะก่อกบฎ เงินในพระคลังน้อย ไม่เพียงพอต่อประเทศ เพราะระบบศักดินา ไม่ได้นำรายได้เข้าพระคลัง Timeline การเลิกทาส 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ทรงประกาศ “พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรลูกทาสลูกไทย” แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปี เป็นทาสอีก 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ทรงออก “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้านายใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว นับตั้งแต่นั้นมาประชาชนในประเทศก็หลุดพ้นเป็นอิสระจาก ระบบชนชั้นในสังคม ที่มีการกดขี่สิทธิมนุษยชนที่มาช้านาน ทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เรียบเรียงข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย, http://www.satit.up.ac.th/ หรรษา ดอทคอม รายงาน อ่านทั้งหมด