papertestthai99 สมาชิก   13 ธันวาคม 2018 เยี่ยมชม :  266    ถูกใจ :  0 [[แจกฟรี]]แนวข้อสอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 ขอขอบคุณที่มาแนวข้อสอบ : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/562 1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศใช้เมื่อใด ก. 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ข. 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ค. 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ง. 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตอบ ค. 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 2.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อใด ก.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข.หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 30 วัน ค.หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน ง.หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 180 วัน ตอบ ก. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของ ก.การส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ข.การสร้างสันติวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นภายใต้หลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมสันติวิธีและความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ค.การดำเนินการใดๆที่นำไปสู่การป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งในด้านใดด้านหนึ่งที่สืบเนื่องจากกฎหมายและนโยบายสาธารณะ ง.การส่งเสริมแนวทางในการป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในรูปแบบต่างๆ ตอบ ค. การดำเนินการใดๆที่นำไปสู่การป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งในด้านใดด้านหนึ่งที่สืบเนื่องจากกฎหมายและนโยบายสาธารณะ “การเสริมสร้างความสมานฉันท์” หมายความว่าการดำเนินการใดๆที่นำไปสู่การป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งในด้านต่างๆทั้งในระดับบุคคลและที่สืบเนื่องจากกฎหมายและนโยบายสาธารณะโดยรวมถึงการส่งเสริมแนวทางในการป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในรูปแบบต่างๆ การส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการสร้างสันติวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นภายใต้หลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมสันติวิธีและความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ 4.ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ “กระบวนการยุติธรรมทางเลือก” ก.กระบวนการจัดการกับปัญหาข้อพิพาทโดยไม่อาศัยคนกลางมาช่วยเหลือ ข.กระบวนการจัดการกับความขัดแย้งที่อาศัยบุคคลผู้เป็นกลางมาช่วยเหลือ ค.กระบวนการจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งโดยอาศัยศาลเป็นกลางมาช่วยเหลือ ง.กระบวนการจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งที่อาศัยบุคคลผู้เป็นกลางมาช่วยเหลือ กำกับหรืออำนวยกระบวนการเพื่อให้คู่พิพาทได้เจรจาตกลงในปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันแทนการฟ้องร้องต่อศาล ตอบ ง. กระบวนการจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งที่อาศัยบุคคลผู้เป็นกลางมาช่วยเหลือ กำกับหรืออำนวยกระบวนการเพื่อให้คู่พิพาทได้เจรจาตกลงในปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันแทนการฟ้องร้องต่อศาล 5.“การสร้างสันติวัฒนธรรม” หมายความว่า ก.ประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรงทุกชนิด โดยเน้นความเอื้ออาทร ข.ประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรงทุกชนิด โดยเน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ค.ประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรงทุกชนิด โดยเน้นความคิดเชิงบวก ง.ถูกทุกข้อ ตอบ ง. ถูกทุกข้อ “การสร้างสันติวัฒนธรรม” หมายความว่า แบบแผน ประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรงทุกชนิด โดยเน้นความเอื้ออาทร ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ความคิดเชิงบวก การสานเสวนาหรือหันหน้ามาพูดคุยกัน และตระหนักถึงคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ 6.“ยุติธรรมชุมชน” หมายความว่า ก.ยุทธวิธีส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้ง ข.ปรัชญาในการอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ค.ประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรงทุกชนิด ง.ไม่มีข้อถูก ตอบ ก. ยุทธวิธีส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้ง “ยุติธรรมชุมชน” หมายความว่า ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีส่งเสริมสนับสนุนหรือกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในการป้องกันแก้ไขและจัดการกับปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้ง เยียวยาความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบและมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในชุมชน 7.“ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์” หมายความว่า ก.ปรัชญาในการอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ข.ประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรงทุกชนิด ค.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบและมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นธรรม.ให้เกิดขึ้นในชุมชน ง.ไม่มีข้อถูก ตอบ ค. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบและมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในชุมชน “ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์” หมายความว่าปรัชญาในการอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งได้มีส่วนร่วมในการแสวงหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันโดยทำให้ผู้เสียหายมีโอกาสได้รับการเยียวยา และผู้กระทำผิดมีโอกาสแก้ไขความผิดพลาดที่ตนเองได้กระทำอันมีเป้าหมายสุดท้ายไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม 8.“คสส.” ย่อมาจากอะไร ก.คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างความสมานฉันท์ ข.คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ ค.คณะกรรมการเสริมสร้างความสัมพันธ์และสมานฉันท์แห่งชาติ ง.คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ ตอบ ข. คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ 9.ใครเป็นประธานในคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ ก.นายกรัฐมนตรี ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ง.ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตอบ ก. นายกรัฐมนตรี 10.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ โดยต้องไม่เกินกี่วัน ก. ไม่เกิน 30 วัน ข. ไม่เกิน 60 วัน ค. ไม่เกิน 90 วัน ง. ไม่เกิน 120 วัน ตอบ ข. ไม่เกิน 60 วัน ในกรณีที่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวัน อ่านทั้งหมด