Catty ผู้ดูแล   11 กุมภาพันธ์ 2019 เยี่ยมชม :  1,368    ถูกใจ :  11 เรื่องจริง แสดงจริง นักวิ่งข้ามเขาหิมาลัย เสี่ยงตาย จนได้มาเป็นภาพยนตร์สารคดี “ผู้ซึ่งหิมาลัยไว้ชีวิต” เพื่อแรงบันดาลใจของนักสู้ ซึ่ง ดร จุ๋ง ชุมพล ครุฑแก้ว นักวิ่งข้ามภูเขาหิมาลัยเป็นคนแรกของเมืองไทย ถ่ายทอดประสบการณ์รวมถึงอุปสรรคต่างๆ ผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ อีกทั้งใจดี แจกลิขสิทธิ์ฟรี ให้ผู้สนใจได้นำไปถ่ายทอดทุกช่องทาง ดร.จุ๋ง ชุมพล ครุฑแก้ว บรรจงเขียนลงพ็อกเก็ตบุค “ผู้ซึ่งหิมาลัยไว้ชีวิต” เป็นนักวิ่งสายโหดคนแรกของเมืองไทยที่ชนะใจตัวเองด้วยการวิ่งข้ามเทือกเขาหิมาลัย ความยาว 1600 กิโลเมตร ที่ความสูงสะสม 88000 เมตร ใช้เวลาถึง 48 วันจึงสำเร็จ ซึ่งได้ถ่ายวีดีโอกว่า 1000 คลิป นำมาร้อยเรียงเป็นภาพยนตร์สารคดีที่แลกด้วยชีวิตของตัวเอง “ก่อนที่นำมาตัดต่อเป็นภาพยนตร์สารคดี ผมได้เขียนลงพ็อกเก็ต “ผู้ซึ่งหิมาลัยไว้ชีวิต” จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาและร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป กระแสตอบรับดีมาก จนหลายคนถามว่า น่าจะมีภาพเคลื่อนไหวบ้าง ซึ่งผมเองก็ได้ถ่ายวีดีโอกว่า 1000 คลิปไว้ แต่ไม่ได้มีการนำมาร้อยเป็นเรื่อง พอดีผมได้คุยกับทีมงานที่เข้ามาช่วยดูแล แนะนำว่าน่าจะนำคลิปต่างๆนำมาร้อยเรียงเรื่องเป็นภาพยนตร์สารคดี ผมคิดดูแล้วมันก็น่าสนใจดีนะ เพราะคนส่วนใหญ่ชอบดูอะไรที่มันเป็นภาพเคลื่อนไหวมันจะดูสนุกกว่ามานั่งอ่านหนังสือ” ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้อะไรกับคนดูบ้าง? “มันไม่ใช่แค่ภาพยนตร์ของนักวิ่งอย่างเดียว มันให้ข้อคิดต่างๆนาๆเยอะ อุปสรรคต่างๆ ผมมั้กจะพูดว่า การวิ่งชัยชนะไม่ได้อยู่แค่เส้นชัย แต่มันอยู่ที่ใจตัวเองต่างหากที่เราสามารถชนะใจตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าเส้นชัยคนแรกแล้วแปลว่าประสบความสำเร็จ คนที่เข้าเส้นชัยทุกคนถือว่าประสบความสำเร็จทุกคน นั่นคือชนะใจตัวเอง” เส้นชัยในการวิ่งเห็นว่าหลายรายการมาก? “ที่ผ่านมา เคยวิ่งรายการยากๆ มาหลายรายการครับเช่นวิ่งเทรลรอบภูเขาฟูจิระยะทาง 162 กิโลเมตร สูงสะสม 9000 เมตร, รายการที่ฮ่องกงระยะทาง298กิโลเมตร สูงสะสม 14500 เมตร, วิ่งรอบเทือกเขาแอลป์ 340กิโลเมตร สูงสะสม 33500 เมตร และล่าสุดก็เทือกเขาหิมาลัย ระยะทาง 1600 กิโลเมตร สูง 88000 เมต ถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุด” เป็นคนไทยคนแรกที่พิชิตหิมาลัย? “อืม เป็นคนแรกที่วิ่งตามแนวเทือกเขาหิมะลัยได้ตลอดทั้งประเทศเนปาลครับ ในความจริงแล้ว ผมไม่ได้ภูมิใจในศักยภาพของตัวเอง แต่ภูมิใจที่ได้มีประสบการณ์ร่วมกับธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ของหิมาลัย ผมไม่ได้พิชิตอะไร นอกจากตัวเอง เสี่ยงตายแลกด้วยชีวิต? “แน่นอนครับการที่ไปวิ่งในระดับนั้น 4 พัน ถึง 6 พัน เมตรจากระดับน้ำทะเล ความยาว 1600 กิโลเมตร สูงสะสม 88,000 เมตร ร่างกายเราต้องเจอกับความท้าทายเยอะมาก แรงดันของอากาศ ความหนาวเย็น ความหิวโหย เพราะแต่ละจุดที่พักมันห่างไกลกันมาก หรือไม่มีเลย ต้องกางเต้นท์เอง ซึ่งบางคนวิ่งไม่ถึงที่พักในแต่ละเมืองก็ต้องพักกลางทาง บางวันก็ต้องอดข้าวอดอาหาร หิมะถล่ม หินถล่ม ปีนเขา ทุกอย่างมันต้องใชัทักษะและความชำนาญทั้งสิ้น ซึ่งประสบการณ์ทั้งหมดมันอยู่ทั้งในพ็อกเก็ตบุค “ผู้ซึ่งหิมาลัยไว้ชีวิต”และภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้” ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ สามารทติดตามได้ช่องทางไหนบ้าง? ตอนนี้ผมแจงลิขสิทธิ์ฟรีครับ สามารถโหลดไปนำเสนอได้ทุกช่องทาง หรือติดต่อมาที่เฟสบุ๊คของผมก็ได้ครับ https://www.facebook.com/jchumphol หรือสามารถติดต่อขอไฟล์ได้ที่ 0655988966 อ่านทั้งหมด